งานราชการ สอบท้องถิ่น ชุมชนคนท้องถิ่น : เว็บ community อันดับ 1 ของวงการท้องถิ่น
ชุมชนกฎหมาย => หนังสือราชการ - คู่มือปฎิบัติงาน => ข้อความที่เริ่มโดย: ส.เสือ™ ที่ 17/ส.ค./2018, 02:57:01 PM
-
สิ้นสุดการรอคอย! ก กลาง ประกาศหลักเกณฑ์เลื่อนระดับข้าราชการส่วนท้องถิ่น "อาวุโส-ชำนาญการพิเศษ-เชี่ยวชาญ"
(http://www.thailocalmeet.com/bbs/images/thailocal_news1039.jpg)
สำนักงาน ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต. ได้มีหนังสือที่ มท 0809.2/ว 144 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2561 แจ้งประกาศ เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการคัดเลือกเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่นตำแหน่งประเภททั่วไปและประเภทวิชาการให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น พ.ศ. 2561 ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการเลื่อนระดับในระบบแท่ง สรุปได้ ดังนี้
1. กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขการเลื่อนระดับประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน
2. เงื่อนไขการปรับปรุงตำแหน่งเป็นระดับอาวุโส
3. คุณสมบัติ เงื่อนไขและวิธีการเลื่อนเป็นระดับอาวุโส
4. กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขการเลื่อนระดับประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ
5. เงื่อนไขการปรับปรุงตำแหน่งเป็นระดับชำนาญการพิเศษ/เชี่ยวชาญ
6. คุณสมบัติ เงื่อนไขและวิธีการเลื่อนเป็นระดับชำนาญการพิเศษ/เชี่ยวชาญ
หนังสือที่ มท 0809.2/ว 144
ดาวน์โหลดได้ที่นี่
(http://www.thailocalmeet.com/bbs/images/download_button.png) (http://www.thailocalmeet.com/bbs/PDF/ว144.pdf)
(https://www.picz.in.th/images/2018/08/16/BVYZES.jpg)
(https://www.picz.in.th/images/2018/08/16/BVYQM1.jpg)
หลักเกณฑ์การเลื่อนระดับให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นในระบบแท่ง
1. กรณีตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่สำคัญ
คุณสมบัติของผู้ที่จะเลื่อนระดับ
1. คุณวุฒิและคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
2. ได้รับเงินดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของอันดับที่จะเลื่อน (ชำนาญงาน)
3. มีผลการประเมินการปฏิบัติราชการย้อนหลัง 6 ครั้ง ไม่ต่ำกว่าระดับดี
4. ไม่ถูกลงโทษทางวินัยที่สูงกว่าภาคทัณฑ์
5. ผ่านการอบรมหลักสูตรตามที่ ก.กลาง กำหนด (หากตำแหน่งใด ก กลาง ยังไม่ได้กำหนดหลักสูตรการอบรม ... ก จังหวัด อาจให้ความเห็นชอบแต่งตั้งผู้ผ่านการคัดเลือกไปก่อน แล้วรายงานให้ ก กลาง ทราบ แต่ผู้นั้นต้องเข้ารับการฝึกอบรมในโอกาสแรกที่มีการเปิดอบรมในหลักสูตรนั้น)
การประเมินผลงาน
1. ผลงานเสนอเป็นผลงานย้อนหลังไม่เกิน 3 ปี จำนวน 2 ผลงาน
2. ผลงานต้องเกิดจากผลการปฏิบัติงานในสายงานที่จะแต่งตั้งเท่านั้น (ไม่นับตำแหน่งที่เกี่ยวข้องเกื้อกูล)
3. ผู้ขอประเมินต้องได้คะแนนจากคณะกรรมการประเมินผลงาน 2 ใน 3 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
2. กรณีตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขสาระสำคัญ
คุณสมบัติของผู้ที่จะเลื่อนระดับ
1. คุณวุฒิและคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
2. ได้รับเงินดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของอันดับที่จะเลื่อน (อาวุโส)
3. มีผลการประเมินการปฏิบัติราชการย้อนหลัง 6 ครั้ง ไม่ต่ำกว่าระดับดี
4. ไม่ถูกลงโทษทางวินัยที่สูงกว่าภาคทัณฑ์
5. ผ่านการอบรมหลักสูตรตามที่ ก.กลาง กำหนด (หากตำแหน่งใด ก กลาง ยังไม่ได้กำหนดหลักสูตรการอบรม ... ก จังหวัด อาจให้ความเห็นชอบแต่งตั้งผู้ผ่านการคัดเลือกไปก่อน แล้วรายงานให้ ก กลาง ทราบ แต่ผู้นั้นต้องเข้ารับการฝึกอบรมในโอกาสแรกที่มีการเปิดอบรมในหลักสูตรนั้น)
การปรับปรุงตำแหน่ง
1. แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินการปรับปรุงตำแหน่ง ประเมินหน้าที่ความรับผิดชอบ ปริมาณงาน คุณภาพของงาน ความยุ่งยากของงาน ความรู้ และความสามารถตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
2. เสนอขอปรับปรุงตำแหน่งต่อ ก.จังหวัด พิจารณาให้ความเห็นชอบ
3. ประกาศปรับปรุงแผนอัตรากำลัง 3 ปี
การประเมินความรู้ ความสามารถ
1. ด้านความรู้
- ประเมินด้วยการเขียนวิสัยทัศน์
- กรรมการประเมินวิสัยทัศน์ ประกอบด้วย ผู้แทนส่วนราชการระดับส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาคที่เกี่ยวข้องกับลักษณะงานของตำแหน่งที่ขอประเมิน โดย ก.จังหวัดคัดเลือก เป็นประธาน ปลัด อปท. และผู้อำนวยการสำนัก/กอง ที่ผู้นั้นสังกัด เป็นกรรมการ
- ผ่านการประเมินวิสัยทัศน์จากกรรมการ 2 ใน 3 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
2. ด้านทักษะ ประเมินจากผู้บังคับบัญชาระดับสำนัก/กอง โดยมีผลการประเมิน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
3. ด้านสมรรถนะ ประเมินจากผลการปฏิบัติงานย้อนหลังไม่ต่ำกว่าระดับดีไม่น้อยกว่า 6 ครั้ง
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขสาระสำคัญ
การประเมินผลงานทางวิชาการ
1. ผู้ขอประเมินจัดทำผลงานทางวิชาการจำนวน 1 ผลงาน โดยกรรมการประเมินผลงานเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.จังหวัด กำหนด
2. เกณฑ์การผ่านการประเมิน
ผู้ขอประเมินจะต้องเป็นผู้ที่ได้คะแนนจากคณะกรรมการประเมินผลงาน 2 ใน 3 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 โดยวันที่มีผลในการเลื่อนระดับ ไม่ก่อนวันที่ยื่นผลงานครบถ้วนถูกต้อง โดยถือเอาวันประทับตราลงรับของสำนักงานเลขานุการ ก.จังหวัด
3.ผู้ที่ไม่ผ่านการประเมินผลงาน ให้เสนอผลงานได้อีกครั้งหนึ่ง ภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการประเมิน หากไม่เสนอผลงานอีกครั้ง หรือเสนอผลงาน อีกครั้งแล้วไม่ผ่านการประเมินให้การประเมินครั้งนั้นเป็นอันยกเลิก
3. กรณีตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขสาระสำคัญ
คุณสมบัติของผู้ที่จะเลื่อนระดับ
1. คุณวุฒิและคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
2. ได้รับเงินดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของอันดับที่จะเลื่อน (ชำนาญการ)
3. มีผลการประเมินการปฏิบัติราชการย้อนหลัง 6 ครั้ง ไม่ต่ำกว่าระดับดี
4. ไม่ถูกลงโทษทางวินัยที่สูงกว่าภาคทัณฑ์
5. ผ่านการอบรมหลักสูตรตามที่ ก.กลาง กำหนด (หากตำแหน่งใด ก กลาง ยังไม่ได้กำหนดหลักสูตรการอบรม ... ก จังหวัด อาจให้ความเห็นชอบแต่งตั้งผู้ผ่านการคัดเลือกไปก่อน แล้วรายงานให้ ก กลาง ทราบ แต่ผู้นั้นต้องเข้ารับการฝึกอบรมในโอกาสแรกที่มีการเปิดอบรมในหลักสูตรนั้น)
การประเมินผลงาน
1. ผลงานเสนอเป็นผลงานย้อนหลังไม่เกิน 3 ปี จำนวน 2 ผลงาน
2. ผลงานต้องเกิดจากผลการปฏิบัติงานในสายงานที่จะแต่งตั้งเท่านั้น (ไม่นับตำแหน่งที่เกี่ยวข้องเกื้อกูล)
3. ผู้ขอประเมินต้องได้คะแนนจากคณะกรรมการประเมินผลงาน 2 ใน 3 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
(https://www.picz.in.th/images/2018/03/29/SaTsbv.jpg)
4. กรณีตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขสาระสำคัญ
คุณสมบัติของผู้ที่จะเลื่อนระดับ
1. คุณวุฒิและคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
2. ได้รับเงินดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของอันดับที่จะเลื่อน (ชำนาญการพิเศษ)
3. มีผลการประเมินการปฏิบัติราชการย้อนหลัง 6 ครั้ง ไม่ต่ำกว่าระดับดี
4. ไม่ถูกลงโทษทางวินัยที่สูงกว่าภาคทัณฑ์
5. ผ่านการอบรมหลักสูตรตามที่ ก.กลาง กำหนด (หากตำแหน่งใด ก กลาง ยังไม่ได้กำหนดหลักสูตรการอบรม ... ก จังหวัด อาจให้ความเห็นชอบแต่งตั้งผู้ผ่านการคัดเลือกไปก่อน แล้วรายงานให้ ก กลาง ทราบ แต่ผู้นั้นต้องเข้ารับการฝึกอบรมในโอกาสแรกที่มีการเปิดอบรมในหลักสูตรนั้น)
การปรับปรุงตำแหน่ง
1. แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินการปรับปรุงตำแหน่ง ประเมินหน้าที่ความรับผิดชอบ ปริมาณงาน คุณภาพของงาน ความยุ่งยากของงาน ความรู้ และความสามารถตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
2. เสนอขอปรับปรุงตำแหน่งต่อ ก.จังหวัด พิจารณาให้ความเห็นชอบ
3. ประกาศปรับปรุงแผนอัตรากำลัง 3 ปี
การประเมินความรู้ ความสามารถ
1. ด้านความรู้
- ประเมินด้วยการเขียนวิสัยทัศน์
- กรรมการประเมินวิสัยทัศน์ ประกอบด้วย ผู้แทนส่วนราชการระดับส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาคที่เกี่ยวข้องกับลักษณะงานของตำแหน่งที่ขอประเมิน โดย ก.จังหวัดคัดเลือก เป็นประธาน ปลัด อปท. และผู้อำนวยการสำนัก/กอง ที่ผู้นั้นสังกัด เป็นกรรมการ
- ผ่านการประเมินวิสัยทัศน์จากกรรมการ 2 ใน 3 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
2. ด้านทักษะ ประเมินจากผู้บังคับบัญชาระดับสำนัก/กอง โดยมีผลการประเมิน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
3. ด้านสมรรถนะ ประเมินจากผลการปฏิบัติงานย้อนหลังไม่ต่ำกว่าระดับดีไม่น้อยกว่า 6 ครั้ง
การประเมินผลงานทางวิชาการ
1. ผู้ขอประเมินจัดทำผลงานทางวิชาการจำนวน 2 ผลงาน โดยกรรมการประเมินผลงานเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.จังหวัด กำหนด
2. เกณฑ์การผ่านการประเมิน
ผู้ขอประเมินจะต้องเป็นผู้ที่ได้คะแนนจากคณะกรรมการประเมินผลงาน 2 ใน 3 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 โดยวันที่มีผลในการเลื่อนระดับ ไม่ก่อนวันที่ยื่นผลงานครบถ้วนถูกต้อง โดยถือเอาวันประทับตราลงรับของสำนักงานเลขานุการ ก.จังหวัด
3.ผู้ที่ไม่ผ่านการประเมินผลงาน ให้เสนอผลงานได้อีกครั้งหนึ่ง ภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการประเมิน หากไม่เสนอผลงานอีกครั้ง หรือเสนอผลงาน อีกครั้งแล้วไม่ผ่านการประเมินให้การประเมินครั้งนั้นเป็นอันยกเลิก
5. กรณีตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ (เฉพาะ อบจ. และเทศบาล)
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขสาระสำคัญ
คุณสมบัติของผู้ที่จะเลื่อนระดับ
1. คุณวุฒิและคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
2. ได้รับเงินดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของอันดับที่จะเลื่อน (เชี่ยวชาญ)
3. ไม่ถูกลงโทษทางวินัยที่สูงกว่าภาคทัณฑ์
4. ผ่านการอบรมหลักสูตรตามที่ ก.กลาง กำหนด (หากตำแหน่งใด ก กลาง ยังไม่ได้กำหนดหลักสูตรการอบรม ... ก จังหวัด อาจให้ความเห็นชอบแต่งตั้งผู้ผ่านการคัดเลือกไปก่อน แล้วรายงานให้ ก กลาง ทราบ แต่ผู้นั้นต้องเข้ารับการฝึกอบรมในโอกาสแรกที่มีการเปิดอบรมในหลักสูตรนั้น)
การปรับปรุงตำแหน่ง
1. แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินการปรับปรุงตำแหน่ง ประเมินหน้าที่ความรับผิดชอบ ปริมาณงาน คุณภาพของงาน ความยุ่งยากของงาน ความรู้ และความสามารถตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
2. เสนอขอปรับปรุงตำแหน่งต่อ ก.จังหวัด เพื่อเสนอ ก.กลาง พิจารณาให้ความเห็นชอบ
3. ประกาศปรับปรุงแผนอัตรากำลัง 3 ปี
การประเมินความรู้ ความสามารถ
1. ด้านความรู้
- ประเมินด้วยการสัมภาษณ์ จากคณะกรรมการที่ ก.กลาง กำหนด
- ผ่านการประเมินต้องได้รับคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
2. ด้านทักษะ ประเมินจากผู้บังคับบัญชาระดับสำนัก/กอง โดยมีผลการประเมิน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
3. ด้านสมรรถนะ ประเมินจากผลการปฏิบัติงานย้อนหลังไม่ต่ำกว่าระดับดีไม่น้อยกว่า 4 ครั้ง
การประเมินผลงานทางวิชาการ
1. ผู้ขอประเมินจัดทำผลงานทางวิชาการจำนวน 2 ผลงาน โดยกรรมการประเมินผลงานเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่ ก.กลาง กำหนด
2. เกณฑ์การผ่านการประเมิน
ผู้ขอประเมินจะต้องเป็นผู้ที่ได้คะแนนจากคณะกรรมการประเมินผลงาน 2 ใน 3 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 โดยวันที่มีผลในการเลื่อนระดับ ไม่ก่อนวันที่ยื่นผลงานครบถ้วนถูกต้อง โดยถือเอาวันประทับตราลงรับของสำนักงานเลขานุการ ก.จังหวัด
3. ผู้ที่ไม่ผ่านการประเมินผลงาน ให้เสนอผลงานได้อีกครั้งหนึ่ง ภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการประเมิน หากไม่เสนอผลงานอีกครั้ง หรือเสนอผลงาน อีกครั้งแล้วไม่ผ่านการประเมินให้การประเมินครั้งนั้นเป็นอันยกเลิก
(https://www.picz.in.th/images/2018/08/16/BVYEL9.jpg)
(https://www.picz.in.th/images/2018/08/16/BVYbhJ.jpg)
(https://www.picz.in.th/images/2018/08/16/BVYjEb.jpg)
(https://www.picz.in.th/images/2018/08/16/BVYlXf.jpg)
(https://www.picz.in.th/images/2018/08/16/BVYDYa.jpg)
(https://www.picz.in.th/images/2018/08/16/BVYP6z.jpg)
(https://www.picz.in.th/images/2018/08/16/BVYLAE.jpg)
(https://www.picz.in.th/images/2018/08/16/BVYeeN.jpg)
(https://www.picz.in.th/images/2018/08/16/BVz4eD.jpg)
-
ขอบคุณข่าวสารค่ะ >>> slotxo (https://www.168slotxo.net/download/)